เขาว่า วัดพระธรรมกาย สอนว่ายิ่งบริจาคมาก ยิ่งได้บุญมาก ?

คำถาม : จริงหรือไม่!!! วัดพระธรรมกาย ชอบสอนว่ายิ่งบริจาคมาก ยิ่งได้บุญมาก ? 

คำตอบ : ก่อนจะอธิบายเกี่ยวกับประเด็นนี้   อยากให้ทำความเข้าใจความหมายของคำว่า “บริจาคมาก” เสียก่อน 

คำว่ามากในที่นี้!!! ทางวัดไม่ได้มุ่งเน้นไปที่มูลค่าหรือตัวเงินที่แต่ละคนนำมาบริจาค  อีกทั้งทางวัดไม่เคยตั้งกฎเกณฑ์เกี่ยวกับจำนวนเงินว่า...ทำบุญหลักสิบ หลักร้อย คือน้อย...ทำบุญหลักพัน หลักหมื่น คือมาก!!!  หรือทำบุญหลักพัน หลักหมื่น คือน้อย...ทำบุญหลักแสน หลักล้าน คือมาก!!!   เพราะคำว่ามากของแต่ละคนมันไม่เท่ากัน   ยกตัวอย่างเช่น...เงินจำนวน 100 บาทสำหรับใครบางคน (โดยเฉพาะคนที่มีเงินน้อย) อาจดูมีค่ามาก    แต่สำหรับใครอีกหลายๆ คน (โดยเฉพาะคนที่มีเงินมาก) เงินจำนวนนี้อาจดูมีค่าไม่มากสักเท่าไหร่

ดังนั้น  แนวทางที่วัดพระธรรมกายสอนเรื่องการทำบุญหรือบริจาคทานให้กับสาธุชนที่มาทำบุญที่วัด  จึงไม่ได้มุ่งเน้นไปที่จำนวนเงินบริจาคว่าจะต้องทำจำนวนมากๆ  แต่สิ่งที่ทางวัดเน้นมากๆ นั่นก็คือ ให้ทำบุญอย่างถูกหลักวิชชาตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนเอาไว้
 
มาถึงจุดนี้!!! หลายท่านคงอยากจะรู้ว่า  

“ทำบุญอย่างไร!!! ถึงเรียกว่าถูกหลักวิชชาและได้บุญมาก”  

คำตอบก็คือ...ต้องทำบุญให้ถึงพร้อมด้วยองค์แห่ง “ทานสมบัติ” ทั้ง 3 ประการได้แก่  
1. ไทยธรรมสมบัติ (หรือวัตถุบริสุทธิ์)  กล่าวคือ วัตถุทานที่นำมาถวายต้องเป็นของบริสุทธิ์ ได้มาอย่างสุจริต ไม่ได้เกิดมาจากการทำผิดศีล (เช่น ไปลักขโมย หรือคดโกงคนอื่นมา เป็นต้นอีกทั้งวัตถุทานที่นำมาถวายจะต้องไม่น้อมนำให้เกิดอกุศลใดๆ ต่อผู้รับ 
(เช่น เอาเหล้าไปมอบให้เป็นของขวัญแก่ผู้อื่นในวาระพิเศษต่างๆ  เป็นต้น)  

2. จิตตสมบัติ (หรือเจตนาบริสุทธิ์)  กล่าวคือ  ผู้ให้มีเจตนาให้ทานด้วยจิตที่บริสุทธิ์เป็นบุญกุศล  เชื่อในเรื่องกรรมและผลของกรรม  อีกทั้งยังมุ่งให้เกิดความดีงามและความใสสะอาดของจิต  ไม่ได้ทำด้วยจิตที่เจือกิเลส (เช่น ทำเพื่ออวดรวย หรืออยากเด่นอยากดัง เป็นต้น) ซึ่งเจตนาจะบริสุทธิ์อย่างเต็มที่และได้อานิสงส์ผลบุญมาก  ผู้ให้จะต้องรักษาใจให้มีความบริสุทธิ์ครบทั้ง 3 กาลดังนี้ คือ
- ก่อนให้ทาน...ต้องรู้สึกปลาบปลื้มยินดีที่จะได้ถวายทาน  
- ขณะให้ทาน...ต้องทำจิตให้ผ่องใส  รู้สึกยินดีที่ได้ถวายทานนั้น  
- หลังจากให้ทานแล้ว...ต้องตามตรึกระลึกนึกถึงบุญที่เราได้ทำไปด้วยความปลื้มปีติใจ    

3. เขตสมบัติ (หรือบุคคลบริสุทธิ์) กล่าวคือ  “ปฏิคาหก” (หรือผู้รับทาน) จะต้องเป็นผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ เป็นผู้มีศีลประกอบด้วยคุณธรรมและมีศีลาจารวัตรอันงดงาม  ส่วน “ทายก” (หรือผู้ให้ทาน) จะต้องเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลด้วยเช่นเดียวกัน   และด้วยเหตุนี้เอง  จึงมีประเพณีให้สมาทานศีล 5 หรือศีล 8 ก่อนที่จะมีการถวายทาน  

จากหลักวิชชาในเรื่อง “ทานสมบัติ 3” ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนเอาไว้  วัดพระธรรมกายก็สอนให้สาธุชนที่มาแสวงบุญที่วัดทำบุญตามหลักวิชชาดังกล่าวมาโดยตลอด 

ไม่เคยมีแม้สักครั้งเดียวที่ทางวัดจะสอนเรื่องการทำทานให้ผิดแผกแตกต่างไปจากคำสอนดั้งเดิมดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น    

ส่วนว่าแต่ละคนทำบุญแล้วจะได้บุญมากหรือน้อย  ในส่วนนี้มันขึ้นอยู่กับตัวแปรตามหลัก “ทานสมบัติ 3 ว่า ใครสามารถทำตามหลักวิชชาได้สมบูรณ์มากน้อยแค่ไหน!!! 

ถ้าทำครบสมบูรณ์ตามหลัก “ทานสมบัติ 3” ทุกประการ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการรักษาเจตนาบริสุทธิ์ให้ครบทั้ง 3 กาล) ไม่ว่าจะบริจาคทานน้อยหรือมาก อานิสงส์ผลบุญที่ได้รับก็จะมีกำลังมากด้วยกันทั้งคู่   

ดังนั้น ในกรณีที่ทำบุญครบองค์แห่งทานสมบัติ 3 สมบูรณ์เท่าๆ กัน   ผลบุญของคนที่บริจาคทานมากกว่า!!! ยังไงก็ย่อมมีกำลังบุญมากกว่าคนที่บริจาคทานน้อยกว่า  

ถ้าจะอุปมาให้เห็นภาพ การสั่งสมบุญก็เปรียบเสมือนกับการหว่านพืช ถ้าองค์ประกอบในการเพาะปลูกมีครบและสมบูรณ์ดีทุกอย่าง  ไม่ว่าจะเป็นมีเมล็ดพันธุ์ดี (เปรียบได้กับมีไทยธรรมสมบัติถึงพร้อม) รวมถึง มีปุ๋ยดี มีดินดี มีน้ำดีและมีอากาศเหมาะสม(เปรียบได้กับเขตสมบัติครบองค์ประกอบทั้งผู้ให้และผู้รับ) อีกทั้งยังมีความมุ่งมั่นตั้งใจ  มีความขยันหมั่นเพียร  และคอยตามดูแลให้ผลผลิตเจริญงอกงาม (เปรียบได้กับเจตนาสมบัติที่เราสามารถรักษาความบริสุทธิ์ของใจครบทั้ง 3 กาล)  คนที่มีพื้นที่เพาะปลูกมากกว่า!!! (เปรียบได้กับคนที่ทำบุญมาก) ยังไงก็ย่อมได้ผลผลิต (ซึ่งก็คือผลบุญ) มากกว่าคนที่มีพื้นที่เพาะปลูกน้อย   

ฉันใดก็ฉันนั้น!!!  คนที่ทำบุญมากและทำถูกหลักวิชชาครบตามหลักทานสมบัติ 3  ย่อมได้ผลบุญมากกว่าคนที่ทำถูกหลักวิชชาเหมือนกันแต่ทำบุญน้อยกว่า  

แต่ถ้าในกรณีที่ทำบุญแล้วองค์ประกอบของ “ทานสมบัติ 3” ไม่ครบหรือไม่สมบูรณ์   บางทีคนที่บริจาคทานน้อยกว่าแต่ทำบุญถูกต้องตามหลักวิชชามากกว่า!!! ก็อาจจะได้ผลบุญมากกว่าคนที่บริจาคทานมากแต่ไม่ได้ทำตามหลักวิชชาก็เป็นได้  

ดังตัวอย่างจากพระไตรปิฎกเรื่อง “มหาทุคตะ” ชายผู้ที่ได้ชื่อว่าจนโคตรๆ ซึ่งต่อมาได้กลับกลายมาเป็นคนที่ร่ำรวยมหาศาล  เพราะเหตุที่มหาทุคตะผู้นี้!!! มีความตั้งใจอยากที่จะสั่งสมบุญด้วยการรับเป็นเจ้าภาพถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุจำนวน 1 รูป  เพื่อที่บุญดังกล่าวจะได้ไปรื้อผังจนกำจัดความตระหนี่ของตัวเอง  ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ในภพชาตินี้ตัวเขาต้องมาเกิดเป็นคนยากจนที่สุดในเมือง (เจตนาบริสุทธิ์)   


เมื่อเขามีความตั้งใจดีเช่นนี้เขาจึงออกไปทำงานรับจ้างที่บ้านเศรษฐี เพื่อหาภัตตาหารมาถวายแด่พระภิกษุด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเอง (วัตถุทานบริสุทธิ์)  สุดท้ายพระภิกษุผู้รับทานของเขาก็คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ที่สุดของบุคคลบริสุทธิ์)  

และด้วยผลบุญจากการทำทานครบองค์ประกอบแห่ง “ทานสมบัติ 3” โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีผู้รับทานเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทำให้มีฝนรัตนชาติที่เป็นเพชรพลอยตกลงมาที่บ้านของเขาสูงท่วมถึงหัวเข่า เรียกได้ว่า...รวยทันตาเห็นภายในวันนั้นเลยทีเดียว!!!   

เมื่อเขาละโลกไปแล้วก็ได้ไปบังเกิดในสวรรค์เสวยทิพยสมบัติยาวนานถึง 1 พุทธันดร และในภพชาติสุดท้าย  เมื่อเขาลงมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง  ผลแห่งบุญก็ได้ส่งผลทำให้เขาได้ไปเกิดอยู่ในตระกูลเศรษฐี  พออายุ 7 ขวบ บุญในตัวของเขาก็ได้กระตุ้นเตือนให้อยากออกบวช ครั้นบวชได้ไม่กี่วัน เขาก็ได้บรรลุธรรมเป็นสามเณรอรหันต์ (ที่มาของเรื่องมหาทุคตะ : พระไตรปิฎกและอรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ 41 หน้า 318 ธัมมปทัฏฐกถา อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท  บัณฑิตวรรควรรณนา)

นี่เป็นตัวอย่างของการ บริจาคน้อย!!! แต่ทำถูกหลักวิชชาจนได้ผลบุญมากที่ชัดเจน  ซึ่งวัดพระธรรมกายก็ได้นำเรื่องราวที่เกี่ยวกับอานิสงส์จากการสร้างทานบารมีอย่างถูกหลักวิชชาของคนทุกระดับชั้น  ที่มีบันทึกในพระไตรปิฎกในลักษณะแบบนี้มาสอนสาธุชนอยู่เสมอๆ  

วัดพระธรรมกายไม่ได้มุ่งเน้นไปที่จำนวนเงินหรือมูลค่าของสิ่งของ   หรือสอนให้ทุกคนต้องบริจาคเงินมากๆ เพื่อให้ได้บุญมากๆ แบบขาดสติ หรือสอนให้ทำบุญแบบเจือกิเลสแบบโลกๆ อย่างที่กลุ่มคนที่ไม่รู้จริงแต่ชอบอวดรู้กล่าวหา  เพราะตลอดระยะเวลากว่าครึ่งศตวรรษ   วัดพระธรรมกายมีแต่สอนให้สาธุชนทุกคนทั้งเก่าและใหม่  ทำบุญให้ครบองค์ประกอบตามหลัก “ทานสมบัติ 3” (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการรักษาเจตนาบริสุทธิ์ให้ครบทั้ง 3 กาล) ซึ่งถือเป็นหลักวิชชาสำคัญในการสร้างทานบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  เพื่อจะได้เป็นเสบียงบุญติดตามตัวเราไปข้ามภพข้ามชาติจนกระทั่งเข้าสู่พระนิพพาน

ส่วนว่า  สาธุชนที่เข้ามาแสวงบุญที่วัดเขาจะบริจาคเงินจำนวนเท่าไหร่  ใครจะทำมาก  ใครจะทำน้อย  ใครจะทำเต็มที่เต็มกำลังหรือใครจะทำแบบพอเพียง ใครจะปิดบัญชีทางโลกเพื่อเปิดบัญชีทางธรรมหรือใครจะทำตามที่สบายใจ เรื่องแบบนี้!!! มันขึ้นอยู่กับความศรัทธาและความพอใจของสาธุชนแต่ละคนเป็นหลัก   ทางวัดไม่สามารถไปบังคับหรือกะเกณฑ์ความศรัทธาในการบริจาคทานของใครได้    

ดังนั้น  ประโยคที่กลุ่มคนซึ่งมีอคติกับวัดพระธรรมกายชอบนำมาตีประเด็นที่ว่า วัดพระธรรมกายชอบสอนว่ายิ่งบริจาคมาก ยิ่งได้บุญมาก”   จึงเป็นเพียงประโยคที่ถูกตัดตอนหรือพูดไม่ครบความ หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ การหยิบยกเอาแต่ “ผลสรุปแค่บางส่วน”  ซึ่งแม้จะเป็นอย่างนั้นจริงๆ ตามหลักวิชชาที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น  แต่พอกลุ่มคนที่มีอคติกับวัดพระธรรมกายเจตนาหยิบยกเฉพาะประโยคนี้มาบิดประเด็น โดยไม่ได้กล่าวถึง “เหตุที่มา” นั่นก็คือหลักคำสอนของทางวัดที่สอนให้สาธุชนทำบุญตามหลัก “ทานสมบัติ 3” ขึ้นมาพูด  เมื่อคนที่ไม่เคยมาวัดได้ฟังกลุ่มคนที่มีอคติปลุกปั่นสร้างกระแสด้วยรูปประโยคที่ถูกตัดตอนแบบนี้มากเข้าๆ ก็ทำให้มีหลายๆ คนหลงเชื่อและเข้าใจผิดคิดว่าวัดพระธรรมกายสอนให้คนทำบุญแบบนั้นจริงๆ  


เพราะฉะนั้น...ถ้าใครอยากจะรู้ความจริงว่าวัดพระธรรมกายสอนให้คนทำบุญอย่างที่เขากล่าวหาจริงๆ หรือไม่!!!  

ขอเชิญมาดูด้วยตา  มาฟังด้วยหู  และมาสัมผัสด้วยตัวเป็นๆ 
ที่วัดพระธรรมกายจะดีที่สุด   
เขาว่า วัดพระธรรมกาย สอนว่ายิ่งบริจาคมาก ยิ่งได้บุญมาก ? เขาว่า วัดพระธรรมกาย สอนว่ายิ่งบริจาคมาก ยิ่งได้บุญมาก ? Reviewed by Unknown on 07:48 Rating: 5

104 ความคิดเห็น:

  1. ถูกต้องที่สุด เป็นหลักสากลอยู่แล้ว ทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย ไม่ทำก็ไม่ได้ หรือคุณอยากได้บุญน้อย หรือไม่อยากได้บุญเลย แปลกคนแฮะ!

    ตอบลบ
  2. เอหิปัสสิโก เชิญมาพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

    ตอบลบ
  3. สุดยอดมากๆเลยค่ะ

    ตอบลบ
  4. ไม่ได้มีเฉพาะทำมากได้มาก มีทั้งทำน้อยได้มาก ทำมากได้มากยิ่งขึ้น ทำบ่อยๆรวย ยิ่งทำบุญยิ่งมาก ถ้ายิ่งทำบุญยิ่งน้อยจะทำทำไมละครับพี่ อิอิ มีวัดไหนเขาสอนแบบนี้บ้างครับ แหม

    ตอบลบ
  5. ต้องดูจิดขณะทำ กำลังทำ หลังทำ

    ตอบลบ
  6. การทำบุญทำตามกำลังไม่ได้กำหนด คนมีมากเขาทำมากก็อนุโมทนาบุญกับเขา คนมีน้อยทำน้อยด้วความปิติใจด้วยทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความลำบาก ก็อนุโมทนาบุญกับเขา

    ตอบลบ
  7. กาอนให้ขณะให้หลังให้ ใจสะอาดบริสุทธิ์ผ่องใส

    ตอบลบ
  8. คนมีศรัทธา เชื่อกรรมและผลแห่งกรรม มีปัญญาเห็นประจักษ์ รู้คุณค่าของสิ่งที่ทำและผลอานิสงส์ที่ได้รับ เขาก็ทำมากเป็นธรรมดาที่มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลแล้ว ถ้าคนไร้ศรัทธาและปัญญา แม้มีรวยมหาศาลเขาก็ไม่ทำหรอก เพราะไม่มีปัญญาพอที่จะเห็นอานิสงส์ ใครจะไปบังคับได้ เพราะพระไม่มีอำนาจในการไปบังคับเอาทรัพย์ของใครมาได้ตามชอบใจ และท่านก็ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สมบัติทางศาสนา จะเอามาทำอะไรล่ะ นอกจากเอามาสร้างให้เป็นประโยชน์ อบรมจิตใจผู้อื่น ให้รู้จักให้ทานอย่างมีปัญญาไง (ทำเป็นแกล้งโง่ไปได้)...

    ตอบลบ
  9. ของจริงมันต้องคู่กับคนจริง ใครที่คิดว่าตัวเองเป็นคนจริงก็เชิญมาพิสูจน์ด้วยตัวเองคะ

    ตอบลบ
  10. เขาทำมากเกิดด้วยจิตที่เลื่อมใส และเห็นอานุภาพแห่งบุญ ยิ่งทำก็ยิ่งปลื้มค่ะ

    ตอบลบ
  11. เขาทำมากเกิดด้วยจิตที่เลื่อมใส และเห็นอานุภาพแห่งบุญ ยิ่งทำก็ยิ่งปลื้มค่ะ

    ตอบลบ
  12. ตั้งแต่เข้าวัดมา ได้ยินแต่วัดพระธรรมกายสอนให้ทำบุญให้ถูกหลักวิชชา คือก่อนทำ ขณะทำ และหลังจากทำแล้วให้ทำใจให้ใสๆ นึกถึงบุญตลอดเวลา เพื่อผลแห่งบุญจะได้ส่งผลอย่างเต็มเปี่ยม อยากได้บุญมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการกระทำของตนเอง คนที่ทำบุญแล้วไม่นึกถึงบุญ หรือนึกบ้างไม่นึกบ้าง กับคนที่ทำบุญแล้วนึกถึงบุญตลอดเวลาบุญส่งผลก็ย่อมแตกต่างกัน

    ตอบลบ
  13. ทานที่มีผลมาก ย่อมมีองค์ประกอบ ดังนี้ :
    1.วัตถุทานบริสุทธิ์
    2.เจตนาบริสุทธิ์
    3. ผู้รับบริสุทธิ์
    4. ผู้ให้บริสุทธิ์
    "นตฺถิ จิตฺเต ปสนฺนมฺหิ อปฺปกา นาม ทกฺขิณา . เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักขิณาทาน ชื่อว่าน้อย ย่อมไม่มี." พุทธพจน์
    ดังนั้น การถวายทานกับพระภิกษุสงฆ์ ผู้เป็นเนื้อบุญอันเลิศ และถวายด้วยจิตศรัทธาเลื่อมใส ผลแห่งทานย่อมมีอานิสงส์มาก หรือได้บุญมาก ด้วยประการฉะนี้ฯ

    ตอบลบ
  14. แปลกตรงไหนทำบุญ. มือไม่พาย อย่าเอาเท้ารานำ้

    ตอบลบ
  15. ทำบุญน้อยได้บุญน้อย ทำบุญมากได้บุญมาก
    ทำบาปน้อยได้บาปน้อย ทำบาปมากได้บาปมาก
    เป็นเหตุเป็นผล ตรงไปตรงมาครับ
    หลวงพ่อท่านสอนบุญกิริยาวัตถุ10ประการ ใม่ใช่บริจาคอย่างเดียว ยิ่งนั่งสมาธิได้บุญมากที่สุด ไม่เสียเงินสักบาท

    ตอบลบ
  16. ดีกว่าทำบาปแล้วกัน เขาทำ เขายังไม่เดือดร้อน แล้วอย่าไปเดือดร้อนแทน เดี๋ยวเขาจะหาว่ายุ่งนะ

    ตอบลบ
  17. สอนให้ทำบุยมากๆถูกแล้วเพราะบุญเป้นที่พึ่งของเราไม่ใช่ของใคร แต่ถ้าคุณไม่ทำก้ไม่มีใครว่านะ เพราะบุญไม่มีขายแล้วก้หาซื้อไม่ได้ ถ้าอยากได้ต้องทำเอง

    ตอบลบ
  18. ก็ถูกต้องแล้วคะ ทำน้อยได้น้อยทำมากได้มากมีเหตุผล ทำดีได้ดีท ทำชั่วได้ชั่ว ต้องถือศัล สวดมนต์ภาวนา ทำดีทุกอย่างที่หลวงพ่อท่านสอนผิดตรงไหน ปฏิบัติแล้วสบายใจ เห็นด้วยทุกประการ

    ตอบลบ
  19. พระเดชพระคุณหลวงพ่อสอน ให้กำลังใจ ส่งเสริมให้ทุกคนทำทาน รักษาศีลและเจริญภาวนา

    ตอบลบ
  20. ไม่ระบุชื่อ9 สิงหาคม 2559 เวลา 20:52

    สาธุ

    ตอบลบ
  21. คำว่ามากของแต่ละคนไม่เท่ากัน
    เอาว่าที่เราทำแล้วเราปลื้มเราเต็มที่ของเรา

    บางคน10บาทปลื้ม
    บางคน 20 50 100 500 1000
    บางคน10000 1000000 ไปถึงล้าน
    ไม่เท่ากัน
    ตัววัดคือจุดที่เราพอใจและเต็มที่

    ตอบลบ
  22. ถูกหลักวิชาเช่นนี้ถึงแม้ทำน้อยก็ได้บุญมาก ยิ่งทำมากยิ่งทับทวีค่ะ

    ตอบลบ
  23. จริงหรือไม่ ไปดูกันที่วัดเลยค่ะ ยินดีต้อนรับทุกท่านค่ะ

    ตอบลบ
  24. ใช่ที่สุดเลยค่ะ ทำบุญน้อยไม่ได้เเปลว่าได้บุญน้อย หรือทำบุญมากไม่ได้เเปลว่าได้บุญมากเสมอไป แต่ต้องขึ้นอยู่กับ ทานบริสุทธิ์3 ด้วย คือ วัตถุบริสุทธิ์ เจตนาบริสุทธิ์ บุคคลบริสุทธิ์ และต้องปลื้มในบุญนั้น ทั้งก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำแล้ว ถ้าเป็นเเบบนนี้ เเม้ทำบุญเพียง 1บาท แต่อานิสงค์ผลบุญก็มีมากมายค่ะ

    ตอบลบ
  25. สาธุ ทำน้อยทำมากขอให้ปลื้ม ทั้งก่อนทำ ขณะทำหลังทำ ได้บุญเต็มที่

    ตอบลบ
  26. อนุโมทนา สาธุครับ

    ตอบลบ
  27. ไม่เห็นแปลกทำมากก็ต้องได้มากเพราะ วัตถุทานบริสุทธิ์ เจตนาบริสุทธิ์ ผู้ให้บริสุทธิ์ ผู้รับบริสุทธิ์ ทานที่ให้จึงมีผลมาก

    ตอบลบ
  28. สาธุค่ะ ทำบุญวัดพระธรรมกาย ถึงจะทำน้อยแต่ปลื้มใจมาก บุญก็ได้มากมั่นใจในเนื้อนาบุญ สาธุค่ะ

    ตอบลบ
  29. คนส่วนใหญ่มักพูดเช่นนั้น แต่ถ้าลองเข้าศึกษาจริงๆดูบ้างจะเข้าใจมากกว่านี้ พูดแบบไม่ศึกษาบาปค่ะ

    ตอบลบ
  30. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  31. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  32. สุดยอดเลยค่ะ สาธุๆๆๆ

    ตอบลบ
  33. สุดยอดเลยค่ะ สาธุๆๆๆ

    ตอบลบ
  34. ครบถ้วนทุกประเด็น ความจริงของคำสอนของวัดพระธรรมกาย มันต้องแบบนี้แหละครับ

    ตอบลบ
  35. ลองเข้ามาพิสูจน์ดูสิจ๊ะ เดี๋ยวจะรู้ว่าเป็นจริงหรือว่#เขาว่า#

    ตอบลบ
  36. ลองเข้ามาพิสูจน์ดูสิจ๊ะ เดี๋ยวจะรู้ว่าเป็นจริงหรือว่#เขาว่า#

    ตอบลบ
  37. เชิญเข้ามาพิสูจน์ค่ะ

    ตอบลบ
  38. เชิญเข้ามาพิสูจน์ค่ะ

    ตอบลบ
  39. อ่านและทำความเข้าใจ วัดพระธรรมกายสอนดีและถูกต้องค่ะ

    ตอบลบ
  40. อ่านและทำความเข้าใจ วัดพระธรรมกายสอนดีและถูกต้องค่ะ

    ตอบลบ
  41. พลังงานบุญกับพลังงานคนต่างกันนะผลของบุญยิ่งใหญ่แม้ทรัพย์น้อยนิดเมื่อใจมีแต่กุศล ออกแรงมากใช่ว่างานจะได้มากหากทำแบบใช้แต่กำลัง...เมื่อยิ่งทำบุญมากจิตยิ่งผ่องใสมากแน่นอนผลย่อมมหาศาล.... ตามนี้ค่ะ

    ตอบลบ
  42. เมื่อทำทานมากดวงบุญก็ใหญ่มากจึงทำให้รวยมาก และเป็นเสบียงติดตัวข้ามภพข้ามชาติไป มันเป็นเหตุเป็นผลกันอย่างนี้ วัดธรรมกายจึงสอนให้ทำทานมากเพราะเหตุนี้แล

    ตอบลบ
  43. คนที่ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับการทำทานว่าทำอย่างไรถึงจะได้บุญมาก ก็ขอให้อ่านหลายๆรอบนะคะ จะได้ไม่มีวิบากกรรมทางกาย วาจา ใจ เวลาเห็นคนมาวัดพระธรรมกายแล้วต่อแถวแย่งกันถวายปัจจัยทำบุญ

    ตอบลบ
  44. เจตนาสำคัญที่สุดค่ะ

    ตอบลบ
  45. เจตนาสำคัญที่สุดค่ะ

    ตอบลบ
  46. ความศัทธาไม่ตกเลยค่ะเพราะธรรมะทีได้จากวัดพระธรรมกายมีเหตุมีผลค่ะ

    ตอบลบ
  47. ทําน้อยทํามาก ไม่สําคัญ สําคัญที่ว่าก่อนทํา กําลังทํา และหลังจากทํา คุณปลี้มใหม คุณภุมิใจตัวเองใหม ที่คุณตัดความตระหนี่ออกจากใจมาได้ สาธุค่ะ

    ตอบลบ
  48. คนที่ยังไม่เข้าใจการทําทาน ยากให้อ่านเยอะๆๆ เพราะสุดยอดคําอธิบาย และดีมากๆๆค่ะ จะได้เข้าใจเจตนาของแต่ละบุคล ที่เขามีเจตนาจริง และยากทําทานค่ะ

    ตอบลบ
  49. คนที่ยังไม่เข้าใจการทําทาน ยากให้อ่านเยอะๆๆ เพราะสุดยอดคําอธิบาย และดีมากๆๆค่ะ จะได้เข้าใจเจตนาของแต่ละบุคล ที่เขามีเจตนาจริง และยากทําทานค่ะ

    ตอบลบ
  50. อยากให้มาศึกษาคำสอนจริงๆของวัดก่อน คิดจะกล่าวหานะคะท่านจะได้ไม่ต้องมานั่งเสัยใจภายหลังค่ะ

    ตอบลบ
  51. อยากให้มาศึกษาคำสอนจริงๆของวัดก่อน คิดจะกล่าวหานะคะท่านจะได้ไม่ต้องมานั่งเสัยใจภายหลังค่ะ

    ตอบลบ
  52. การได้บุญมากน้อยอยู่ที่ความสะอาดทั้งวัตถุใจที่สะอาด และปลื้มเมื่อทำแล้วและ 3 อย่างนี้ ก็ชัดเจนในเรื่องถ้าทำมากก็ย่อมได้บุญมากเมื่อเทียบกัน

    ตอบลบ
  53. ทำบุญเท่าไร ไม่สำคัญ เท่าใจใสและปลื้มใจแค่ไหนค่ะ... ที่วัดสอนมาตลอดค่ะ

    ตอบลบ
  54. คนที่แอนตี้วัดพระธรรมกายบางส่วนเพราะไม่เข้าใจคำสอน บางส่วนก็เข้าใจผิดไป หรือเชื่อคนที่นำคำสอนไปบิดเบือน เข้ามาศึกษาทำความเข้าใจด้วยตัวเองดีกว่าค่ะ

    ตอบลบ
  55. ลองเปิดใจ วางอคติ แล้วจะได้สิ่งดีๆไปคะ

    ตอบลบ
  56. การทำบุญ มี 3 อย่าง ที่จะทำให้ได้บุญมาก
    1 ต้องมีจิตศรัทธา
    2 ทรัพย์หาได้ด้วยความบริสุทธิ์จะทำมากทำน้อยก็แล้วแต่ศรัทธา
    3 ผู้รับยิ่งบริสุทธิ์บุญก็จะเกิดขึ้นมาก
    พระเดชพระคุณหลวงพ่อไม่ได้สอนให้ทำหมดตัวแต่สอนให้ทำหมดหัวใจที่ศรัทธาแต่ต้องรับผิดชอบต่อครอบครัวให้เรียบร้อยก่อนและคนในครอบครัว ต้องเห็นชอบด้วย

    ตอบลบ
  57. บุญเป็นเบื้องหลังแห่งความสุขความสำเร็จ

    ตอบลบ
  58. การทำบุญมากน้อยอยู่เจตนา

    ตอบลบ
  59. ได้รับความรู้ที่ถูกต้อง...ตาสว่างซะที...สาธุ

    ตอบลบ
  60. วัดพระธรรมกายสอนสาธุชนตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่แสดงไว้ในพระไตรปิฎกทุกประการค่ะ เคยเริ่มทำบุญปีสองเก้า ด้วยเงินยี่สิบบาท แล้วขยับขึ้นตามกำลังทรัพย์หามาได้ด้วยความปลื้มปิติในบุญ เป็นร้อยเป็นพันเป็นหมื่น เป็นแสนและเป็นล้าน ในทุกวันนี้ ขอบอกว่าทำบุญวันนี้แล้วสมปรารถนาในสิ่งที่ดีงามค่ะ(หากประพฤติตนตามหลักธรรมะที่หลวงพ่อสอนอย่างสม่ำเสมอ) (ขอบอกดังๆตรงนี้นะคะ)

    ตอบลบ
  61. การทำบุญต้องทำอย่างถูกหลักวิชชาแล้ว ยังต้องทำถูกเนื้อนาบุญอีกด้วย..จึงจะได้อานิสงส์แห่งบุญมาก..

    ตอบลบ
  62. สิ่งที่วัดสอนมีครบองค์ประกอบ แต่เพราะนำไปพูดแค่บางประโยค จึงเข้าใจกันผิดไป ใครพูดผิดก็พูดใหม่ได้นะคะ เพื่อไม่ติดวิบากกรรมเกี่ยวกับทรัพย์วิบัติ จากการขวางศรัทธาการทำทานของผู้อื่น
    #สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมที่ตัวทำ
    #ทานทำให้รวย
    #ศีลทำให้สวย&แข็งแรง
    #อยากฉลาดต้องหมั่นเจริญ "สัมมา อะระหัง"

    ตอบลบ
  63. สิ่งที่วัดสอนมีครบองค์ประกอบ แต่เพราะนำไปพูดแค่บางประโยค จึงเข้าใจกันผิดไป ใครพูดผิดก็พูดใหม่ได้นะคะ เพื่อไม่ติดวิบากกรรมเกี่ยวกับทรัพย์วิบัติ จากการขวางศรัทธาการทำทานของผู้อื่น
    #สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมที่ตัวทำ
    #ทานทำให้รวย
    #ศีลทำให้สวย&แข็งแรง
    #อยากฉลาดต้องหมั่นเจริญ "สัมมา อะระหัง"

    ตอบลบ
  64. เป็นเรื่องจรืง ในพระไตรปิฎกก็มีนะ
    แต่ต้องปลื้มนะ และของนั้นบริสัทธิ์.
    ผู้รับก็บริสุทธ์ ได้บัญมากจริง
    วัดไหนๆเขาก็สอนเช่นเดียวกัน

    ตอบลบ
  65. เป็นเรื่องจรืง ในพระไตรปิฎกก็มีนะ
    แต่ต้องปลื้มนะ และของนั้นบริสัทธิ์.
    ผู้รับก็บริสุทธ์ ได้บัญมากจริง
    วัดไหนๆเขาก็สอนเช่นเดียวกัน

    ตอบลบ
  66. ฟังมาตลอด เกือบ 20 ปี ไม่เคยได้ยินคำนี้ จากปากท่านเลย
    มีเเต่นักข่าว เอามาลง เเล้วกระพือ สร้างกระเเส

    ตอบลบ
  67. อ่านแล้วใช่เลยครับ ช่วยกันเผยแพร่บทความนี้เยอะๆนะครับ คนที่ยังไม่รู้หรือมีอคติกับวัดจะได้รู้

    ตอบลบ
  68. อ่านแล้วใช่เลยครับ ช่วยกันเผยแพร่บทความนี้เยอะๆนะครับ คนที่ยังไม่รู้หรือมีอคติกับวัดจะได้รู้

    ตอบลบ
  69. ทำทุกครั้ง ปลื้มทุกครั้ง เพราะหลวงพ่อสอนให้ทำให้ถูกหลักวิชชาตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สาธุๆๆ

    ตอบลบ
  70. ทำบุญตามกำลัง เเต่ทำให้ถูกวิธี 3 ปคะการ คือ วัตถุบริสุทธิ์ เจตนาบริสุทธิ ผู้รับบริสุทธิ์ ทำด้วยใจปิติ ใจใสๆทั้งก่อนทำ ขณะทำ หลังทำ บุญจะได้รับก็เต็มที่ สาธุๆๆครับ

    ตอบลบ
  71. เงินทำบุญก็เงินของเรา เราทำเพราะเห็นหลวงพ่อนำเงินเราไปสร้างวัดเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แค่กระพริบตาวัดก็เปลี่ยนแล้ว เราถึงอยากทำ พวกมือไม่พายแต่เอาเท้าราน้ำหยุดถ่วงความเจริญเสียที มุดหัวออกจากกะลาบ้างนะ จะบอกให้

    ตอบลบ
  72. คนศึกษาปฏิบัติจริงจะไม่ออกมาว่าใคร
    หลวงปู่หลวงตามีธรรมะภายในไม่เคยว่าหลวงพ่อ
    มีแต่ชื่นชมอนุโมทนา

    ตอบลบ
  73. ส่วนมาคนที่เข้าวัดทำบุญเขาไม่สงสัยกันหรอกครับ เขาทำแล้วสบายใจเขาก็ทำ ไม่ว่าตะมากจะน้อย ส่วนพวกที่ไม่ทำนั่นแหละครับ ที่สงสัยกันจัง

    ตอบลบ

ขับเคลื่อนโดย Blogger.